10/18/2022

ชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ

Posted By: ครูตุ้ง - Tuesday, October 18, 2022
จำนวนผู้ดู

                  มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่

1. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟส หรือเรียกว่าซิงเกิลเฟสมอเตอร์ (A.C. Sing Phase Motor)

2. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 3 เฟสหรือเรียกว่าทรีเฟสมอเตอร์ (A.C. Three phase Motor)


                 มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟส หรือเรียกว่าซิงเกิลเฟสมอเตอร์ (A.C. Sing Phase)

แบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด คือ

                1. สปลิทเฟสมอเตอร์ (Split phase motor) มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าสลับชนิดเฟสเดียวแบบสป

ลิท เฟสมอเตอร์มีขนาดแรงม้าขนาดตั้งแต่ 1/4 แรงม้า , 1/3 แรงม้า, 1/2 แรงม้าจะมีขนาดไม่เกิน 1 แรงม้า

บางทีนิยมเรียกสปลิทเฟสมอเตอร์นี้ว่า อินดักชั่นมอเตอร์( Induction motor) มอเตอร์ชนิดนี้นิยมใช้งาน

มากในตู้เย็น เครื่องสูบน้ำขนาดเล็ก เครื่องซักผ้า

            มอเตอร์ชนิดนี้จะประกอบด้วยขดลวด 2 ชนิด คือ
                  1. ขดรัน 
                  2. ขดสตาร์ท 

           โดยมีหลักการทำงานคือ เมื่อเราจ่ายแรงดันให้กับมอเตอร์ จะมีกระแสแยกไหลผ่านขดลวดทั้งสอง โดยขดที่ไหลผ่านขดสตาร์ทจะช่วยให้มอเตอร์เริ่มหมุนไปในทิศทางการต่อขดลวด เมื่อมอเตอร์หมุนจนถึงความเร็วประมาณ 75 % ของความเร็วพิกัด จะทำให้สวิตซ์แรงเหวี่ยงตัดวงจร ทำให้กระแสส่วนที่ไหลผ่านขดสตาร์ทของมอเตอร์ซึ่งต่ออนุกรมอยู่กับสวิตซ์แรงเหวี่ยงหยุดไหล เหลือเฉพาะกระแสส่วนที่ไหลผ่านขดรันเท่านั้น ดังนั้นขดสตาร์ทของมอเตอร์ชนิดนี้จะพันด้วยขดลวดที่มีขนาดเล็กและรอบน้อย
           ดังนั้น หากสวิตซ์แรงเหวี่ยงไม่ทำงาน จะเป็นสาเหตุให้ขดสตาร์ทไหม้ได้

วงจรไฟฟ้าของสปลิทเฟสมอเตอร์

                  การกลับทางหมุนของมอเตอร์ชนิดนี้ สามารถทำได้โดยการกลับขั้วของขดสตาร์ท ซึ่งปกติหากเป็นมอเตอร์ที่มีการพันมาจากบริษัทที่มีมาตรฐานจะมีสัญลักษณ์กำกับที่ขดลวด ดังนี้

                2. คาปาซิเตอร์มอเตอร์ (Capacitor Motor) คาปาซิเตอร์เตอร์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟสที่มีลักษณะคล้ายสปลิทเฟสมอเตอร์มาก ต่างกันตรงที่มีคาปาซิสเตอร์เพิ่มขึ้นมาทำให้มอเตอร์แบบนี้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าสปลิทเฟสมอเตอร์ คือมี แรงบิดขณะสตาร์ทสูงใช้กระแสขณะสตาร์ทน้อยมอเตอร์ชนิดนี้มีขนาดตั้งแต่ 1/20 แรงม้าถึง10 แรงม้า มอเตอร์นี้นิยมใช้งานเกี่ยวกับ ปั๊มน้ํา เครื่องอัดลม ตู้แช่ตู้เย็น


                คาปาซิเตอร์มอเตอร์  สามารถแบ่งออกได้อีก เป็น 3 แบบ คือ

                   2.1 คาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ 
                         จะเป็นคาปาซิเตอร์มอเตอร์ ที่มีแรงน้อยที่สุด แต่แรงสตาร์จะดีกว่าสปิทเฟสมอเตอร์ เนื่องจากจะมีคาปาซิเตอร์ 1 ตัว ต่ออนุกรมกับสวิตซ์แรงเหวี่ยงและขดสตาร์ทของมอเตอร์ เหมือนสปิทเฟสมอเตอร์ช่วยให้มีแรงสตาร์ทตอนเริ่มหมุนดีขึ้น เมื่อมอเตอร์หมุนออกตัวได้แล้ว ทั้งขดสตาร์และคาปาซิเตอร์จะถูกตัดออกจากวงจรโดยสวิตซ์แรงเหวี่ยง


วงจรไฟฟ้าของคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ 

                   2.2 คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์
                        จะเป็นคาปาซิเตอร์มอเตอร์ ที่เพิ่มแรงหมุนหลังจากการสตาร์ทมอเตอร์ได้แล้ว เนื่องจากมอเตอร์ประเภทนี้จะไม่มีสวิตซ์แรงเหวี่ยงตัดคาปาซิเตอร์ออกจากวงจรเหมือนกับคาปาซิเตอร์สตาร์มอเตอร์ แต่จะต้องออกแบบขดสตาร์ทให้สามารถต่ออยู่กับวงจรได้ตลอดเวลา (ต้องเพิ่มขนาดและจำนวนรอบของขดสตาร์ทให้มากขึ้น)

วงจรไฟฟ้าของคาปาซิเตอร์รันมอเตอร์

                   2.3 คาปาซิเตอร์สตาร์ทคาปาซิเตอร์รันมอเตอร์
                         คาปาซิเตอร์มอเตอร์ชนิดนี้เป็นการประยุกต์รวมคาปาซิเตอร์มอเตอร์ ชนิดคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ และคาปาซิเตอร์รันมอเตอร์เข้ามารวมกัน ทำให้มอเตอร์ชนิดนี้มีแรงดีทั้งตอนสตาร์และตอนหมุน โดยมอเตอร์ชนิดนี้จะมีคาปาซิเตอร์สตาร์ 1 ตัว และคาปาซิเตอร์รัน 1 ตัว รวมเป็น 2 ตัว

วงจรไฟฟ้าของคาปาซิเตอร์สตาร์ทคาปาซิเตอร์รันมอเตอร์

                3. รีพัลชั่นมอเตอร์(Repulsion Motor) เป็นมอเตอร์ที่ มีขดลวดโรเตอร์ (Rotor) จะต่อเข้ากับคอมมิวเตเตอร์และมีแปรงถ่านเป็นตัวต่อ ลัดวงจร จึงทำให้ปรับความเร็วและแรงบิดได้ โดยการปรับตําแหน่งแปรงถ่าน สเตเตอร์( Stator ) จะมี ขดลวดพันอยู่ในร่องเพียงชุดเดียวเหมือนกับขดรันของสปลิทเฟสมอเตอร์เรียกว่า ขดลวดเมน (Main winding) ต่อกับแหล่งจ่ายไฟโดยตรง แรงบิดเริ่มหมุนสูง ความเร็วคงที่ มีขนาด 0.37-7.5 กิโลวัตต์ (10 แรงม้า) ใช้กับงาน ปั๊มคอมเพลสเซอร์ ปั๊มลม ปั๊มน้ําขนาดใหญ่


                  4. ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์ (Universal Motor) เป็นมอเตอร์ขนาดเล็กมีขนาดกำลังไฟฟ้าตั้งแต่1/200 แรงม้าถึง 1/30 แรงม้า นำไปใช้ได้กับ แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงและใช้ได้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟส มอเตอร์ชนิดนี้มีคุณสมบัติ ที่โดดเด่น คือให้แรงบิดเริ่มหมุนสูงนําไปปรับความเร็วได้ทั้งปรับความเร็วได้ง่ายทั้งวงจรลดแรงดันและ วงจรควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ นิยมนําไปใช้เป็นตัวขับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องบดและผสม อาหาร มีดโกนหนวดไฟฟ้า เครื่องนวดไฟฟ้า มอเตอร์จักรเย็บผ้า สว่านไฟฟ้า เป็นต้น


                 5. เช็ดเด็ดโพลมอเตอร์ (Shaded Pole Motor) เป็นมอเตอร์ขนาดเล็กที่สุดมีแรงบิดเริ่มหมุนต่ํามากนําไปใช้งานได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ๆ เช่น ไดร์เป่าผม พัดลมขนาดเล็ก

เช็ดเด็ดโพลมอเตอร์

              มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 3 เฟสหรือเรียกว่าทีเฟสมอเตอร์ (A.C. Three phase Motor)

              1. สคิวเรลเคจโรเตอร์มอเตอร์ (Squirrel Cage Rotor Motor) สคิวเรลเคจโรเตอร์มอเตอร์ อินดักชั่นมอเตอร์สามเฟส แบบสคิวเรลเคจโรเตอร์เป็นโรเตอร์ที่ให้กําลังแรงม้าต่ําเมื่อเทียบกับ มอเตอร์แบบอื่นๆแต่จะมีข้อดีคือจะมีความเร็วรอบการทํางานคงที่ในโหลดที่มีขนาดต่างๆ กัน และการบํารุงรักษามอเตอร์แบบนี้ไม่ยุ่งยากจึงทําให้อินดักชั่นมอเตอร์สามเฟสแบบสคิวเรลเคจโรเตอร์เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย


               2. วาวด์โรเตอร์มอเตอร์ (Wound Rotor) วาวด์โรเตอร์มอเตอร์ มอเตอร์แบบวาวด์โรเตอร์(Wound-rotor) หรือแบบ Slip-ring จะมีแกนหมุนพันขดลวดที่มีตัวนําไฟฟ้านําไปสู่ Slip Rings เพื่อสอดแทรกตัวความต้านทานไว้เพิ่มแรงบิดในขณะสตาร์ทและลดกระแสใน การสตาร์ทและยังวางใจได้ต่อการลดความเร็วลง 50% ภายใต้แรงบิดขณะรับภาระเต็มที่ มอเตอร์แบบนี้ เหมาะกับอุปกรณ์ขนถ่ายทุกชนิดที่ต้องควบคุมแรงบิดในขณะสตาร์ท มอเตอร์แบบวาวด์โรเตอร์ อาจจะใช้เป็นมอเตอร์ความเร็วคงที่ หรือเป็นมอเตอร์ปรับความเร็วได้ทั้ง 2 แบบ มอเตอร์แบบวาวด์โรเตอร์ สามารถควบคุมแรงบิดในขณะช่วงเวลาการสตาร์ทได้โดยการเพิ่มความต้านทานภายนอก เข้าไปในขดลวดทุติยภูมิ (Secondary Winding) ของมอเตอร์ ผ่านทาง Slip Rings ทําให้ สามารถกําหนดโปรแกรมแรงบิด ระหว่างการสตาร์ท ให้เหมาะสมกับมอเตอร์ที่ขับอุปกรณ์ขนถ่ายแต่ละ แบบการขับประเภทนี้ได้มีการใช้กันอย่างกว้างขวางในสายพานลําเลียงขนาดใหญ่ ๆ



About ครูตุ้ง

We published High quality Blogger Templates with Awesome Design for blogspot lovers.The very first Blogger Templates Company where you will find Responsive Design Templates.

0 comments:

Post a Comment

Copyright ©

Designed by Templatezy